วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

บทความของ Task manager (บทที่ 6)

1. วินโดวส์แทสก์แมนิเจอร์  (อังกฤษ: Windows Task Manager) 

          คือโปรแกรมประยุกต์โปรแกรมหนึ่งที่รวมมากับระบบปฏิบัติการตระกูลไมโครซอฟท์ วินโดวส์เอ็นที เป็นเครื่องมือสำหรับติดตามและให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น เช่น โปรแกรมหรือกระบวนการอื่นที่กำลังทำงานอยู่ การใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง การจองและการใช้งานหน่วยความจำ การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ผู้ใช้ที่ล็อกอิน เป็นต้น แทสก์แมนิเจอร์ยังสามารถใช้กำหนดระดับความสำคัญของโปรแกรมหรือกระบวนการ บังคับให้ยกเลิกการทำงาน สั่งปิดเครื่อง เริ่มเครื่องใหม่ ไฮเบอร์เนต หรือล็อกออฟจากวินโดวส์ได้
วินโดวส์แทสก์แมนิเจอร์เริ่มมีขึ้นตั้งแต่วินโดวส์เอ็นที 4.0 เป็นต้นมา สำหรับในรุ่นเก่ากว่านั้นมีโปรแกรมชื่อ แทสก์ลิสต์ (Task List) แต่มีคุณลักษณะน้อยกว่านี้มาก นั่นคือ เรียกดูโปรแกรมหรือกระบวนการที่กำลังทำงาน ยกเลิกการทำงาน หรือสร้างกระบวนการใหม่เท่านั้น

2. 6 ทางในการเปิด Task manager 
การที่จะเปิด Windows Task Manager นั้นทุกคนก็รู้ๆ กันอยู่ แต่หาก virus จัดการกับ shortcut อันเลื่องลืออย่าง Ctrl+Alt+Del ก็อาจทำให้คุณชะงักได้ว่าทำอย่างไรถึงจะเปิดมันขึ้นมาได้ อีกทั้งเพื่อความหลากหลายและความสะดวกสบายของชีวิตคุณให้มากขึ้น จึงได้มาบอก 6 หนทางเปิด Windows Task Manager 

1) Ctrl+Alt+Del 
หลายคนก็ต้องคุ้นกับวิธีนี้ กับการใช้เพียง 3 นิ้วเปิดมันขึ้นมา (Ctrl+Alt+Del) แต่เมื่อถึง Windows Vista การกด Ctrl+Alt+Del กับกลายเป็นการเปิด Windows Security screen ขึ้นมาแทนซึ่งหลายคนก็หงุดหงิดและหาวิธีอื่นๆ ขึ้นมาทดแทน
กด Ctrl+Alt+Del

2) Right-Click Taskbar 
ถือว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดในการเปิด Windows Task Manager เพียงแค่คลิกขวา ที่ taskbar และเลือก Start Task Manager เพียงแค่นั้น คือเพียงลากเมาส์แล้วคลิกอีก 2 คลิกก็เป็นอันสำเร็จ 

คลิกขวาที่ Startbar เลือก Start Task Manager



3) Run taskmgr 

Run command เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการเข้าถึง shared folders แต่คุณก็ยังสามารถใช้มันเพื่อเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาได้อีกด้วย คลิกที่ปุ่ม Start ไปที่ All Programs folder ภายในโฟเดอร์ Accessories ก็ให้คลิกที่ Run command หรือที่ง่ายกว่านั้นคุณสามารถกดเพียง Windows + R บนคีย์บอร์ดก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน จากนั้นก็เพียงพิมพ์ “taskmgr” ลงไปแล้วกด Enter แรงๆ ก็เป็นการเสร็จสิ้น 

กด Start>Run>taskmgr



4) Ctrl+Shift+Esc 
นอกจากนี้ยังมีคีย์รัดที่ง่ายๆ อย่าง Ctrl+Shift+Esc 3 ปุ่มที่เปิด Windows Task Manager ได้เหมือนกัน 



 
กด Ctrl+Alt+ESC

5) Browse to taskmgr.exe 

ส่วนอันนี้เป็นวิธีที่ยาวที่สุด แต่ถ้ามันเป็นทางเลือกเดียวที่เหลือคุณก็ต้องทำ เปิด Windows Explorer และไปที่ C:\Windows\System32 จากนั้นมองหา taskmgr.exe และดับเบิ้ลคลิกที่ตัวโปรแกรม ง่ายสุดๆ ไปเลย 


เข้า C:\Windows\System32>taskmgr.exe

6) Create taskmgr.exe Shortcut 

และวิธีสุดท้าย นั่นคือการสร้าง shortcut Task Manager ไว้บน desktop ของคุณนั่นเอง คลิกขวาที่หน้า desktop ของคุณ เลือก New > Shortcut pop up ก็จะปรากฏขึ้นมา ไปเลือกโปรแกรมจากตำแหน่งในข้อ 5 แล้วเลือก taskmgr.exe คลิก OK > คลิก Next จากนั้นพิมพ์ชื่อ shortcut ของคุณ



กดคลิกขวา desktop>New>Shortcut>taskmgr.exe



 3. พื้นฐาน Task manager 
        Tab แรก มาดูที่ Applications กันก่อนน่ะ ที่จะมี 3 ปุ่มนั้นมีอะไรบ้าง

หน้าต่าง Task Manager

End Task หมายถึง ปิดโปรแกรม เช่น .. หากโปรแกรมไหนค้างไปดื้อๆ โดยมีคำว่า
 Not Responding  หากเรารอไม่ไหวก็ปิดทิ้งเลย

Switch to หมายถึง หากกด โปรแกรมไหนที่เราอยากสลับ แทปกัน เช่น กดโปรแกรม Acdsee.. ก็กดปุ่มนี้
โปรแกรม Task manager จะพับลง แล้วโปรแกรม  Acdsee.. จะโชว์หน้าต่างขึ้นมา  โปรแกรมอื่นก็เช่นกัน

New task หมายถึงการเรียกโปรแกรม (คล้ายๆกับว่าเราเปิดโปรแกรมทางอคอนนั่นเอง)  
แต่จะสั่งทาง ที่อยู่ของโปรแกรมนั่นเอง

        Tabที่ 2 มาดูที่ ของ Processes กันก่อนน่ะ ที่จะมี 1 ปุ่มคือ

หน้าต่าง Task Manager>Processes

End Processes หมายถึง การปิด Processes (การปิดโปรแกรมระดับสูง)

เช่น chrome.exe เป็นโปรแกรม Google chrome
      chorome.exe     เป็นโปรแกรมที่เปิด My computer ดังนั้น หากไปปิด
                               มัน พวก icon ... start menu จะหายหมดเลย แต่ว่าไม่ต้องเป็นห่วง
                               เพราะว่า มันจะเปิดขึ้นเองอีกครั้ง  แต่ต้องใช้เวลาซักหน่อย

        Tabที่ 3 มาดูที่ แทป Performanceกัน  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่วัดการทำงานของ CPU และ  Page file
นั่นเอง 
หน้าต่าง Task Manager>Performance


        Tabที่ 4 มาดูที่ แทป networking กัน   ซึ่งเป็นโปรแกรมดูความเร็วบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
แต่ถ้าขึ้นคำว่า No Active Network Adapters Found.  แสดงว่า คุณไม่ได้ต่อเน็ต

หน้าต่าง Task Manager>Networking

        และTabที่5 มาดูที่ แทป ของ Users เป็นTabสำหรับดูผู้ใช้งาน(ที่มากกว่า 1 คน) นั่นเอง
แล้วถ้าจะโชว์น่ะ ก็ดบเบิ้ลคลิกตรงขอบข้างบนหน้าต่าง โปรแกรม Task manager

            Tip : วิธีการดู Processes อัพเดตเร็วขึ้น
ไปที่ View >> Update Speed >> เลือกความเร็วที่ต้องการ เช่น
High 
            *การใช้ทิปนี้ ไม่ทำให้การทำงานเร็วขึ้น
แต่ข้อมูลการทำงานของ CPU แสดงเร็วขึ้นเท่านั้นเอง

             Tip : Shut down ตรง Task manager นี่แหละ
ไปที่  Shut Down >> แล้วแต่จะเลือก
Stand By  ดับคอมแบบปรหยัดพลังงาน ถ้าเราจะเปิดคอม เลื่อนเมาส์นิดหน่อย
Hibernate ตัวนี้ไม่แนะนำให้ทำเพราะจะทำให้ พื้นที่ Harddisk เพิ่มขึ้น
Trun off  ปิดคอม ตามปกติ
Restart  รีสตาร์ทเครื่องใหม่
Log off  Administrator  ล็อก คอมเจ้าของเครื่อง
Switch User สลับผู้ใช้งาน
4. วิธีการเรียก Resource Monitor ออกมาใช้งานนั้น

        1. หลังจากอยู่ที่แท็บ Performance แล้ว ให้คลิกที่ Open Resource Monitor ที่อยู่ด้านล่างของหน้าต่าง

หน้าต่าง Task Manager>Performance>Resource Monitor
        2. หน้าต่าง Resource Monitor จะปรากฏขึ้นมา โดยเป็นข้อมูลที่คุณอาจจะดูไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ แต่อธิบายง่ายๆ ดังนี้ว่า มีการแบ่งทรัพยากรในเครื่องออกเป็น 4 ส่วน คือ CPU, Disk, Network และ Memory ซึ่งจะมีบอกระดับการถูกใช้งานอยู่ และเมื่อคลิกเปิดดูรายละเอียดในแต่ละส่วนก็จะมีรายละเอียดเพิ่มขี้นมาอีก

หน้าต่าง Resource Monitor>CPU
        3. ในส่วนของ CPU นั้นจะคล้ายกับๆ ส่วนของ Performance ใน Task Manager นั่นแหละครับ ดังนั้นถ้าใน Task Manager ดูแล้วว่า CPU ถูกใช้งานไปเท่าไหร่ ในนี้ก็มักจะถูกใช้งานไปเท่านั้นเหมือนกัน ถ้าเครื่องจะอืดก็เพราะ CPU ถูกใช้งานไปเยอะ เช่นเกิน 80% เกือบตลอดเวลา คงต้องมาดูกันว่า Process ไหนกินซีพียูมากที่สุด

หน้าต่าง Resource Monitor>Disk
4. ในส่วนของ Disk มีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะมีเรื่องของปริมาณข้อมูลที่ถูกอ่านเขียน ซึ่งถ้าค่า Disk I/O ที่มีหน่วยเป็น Byte/sec (สีเขียว) ซึ่งถ้าเยอะก็แปลว่า Disk ทำงานหนักหรืองานล้นมือจนเครื่องอืด แต่บ่อยครั้งที่มีการถ่ายโอนข้อมูลไม่เยอะ แต่ ถี่เช่นมีโปรแกรมบางตัวเขียนโปรแกรมทีละ 1 Byte ล้านครั้งต่อวินาที ซึ่งคิดออกมาก็เป็นข้อมูลแค่ 1MB เท่านั้น แต่การเขียนข้อมูลล้านครั้งทำให้ Disk ทำงานหนักและเกิดงานล้นมือได้เหมือนกัน ซึ่งจุดนี้จะแสดงให้เห็นที่กราฟสีฟ้า หรือ Active Time นั่นเอง

หน้าต่าง Resource Monitor>Network>Memory
5. ส่วน Network นั้นแทบจะไม่เป็นสาเหตุของเครื่องอืด แต่เน็ตอืดมากกว่า และส่วนสุดท้ายคือ Memory คือต้องดู Physical Memory (กราฟสีฟ้า) หรือแรม ซึ่งถ้าถูกใช้งานเกิด 80-90% แสดงว่าแรมถูกใช้งานไปจนหมดและกำลังเกิดการใช้ Virtual Memory ทดแทน ทำให้ภาระหนักตกไปอยู่กับ Disk เหมือนเดิม ซึ่งคุณจะได้เห็นได้เลยจากข้อ 4 ที่พูดไปแล้วนั่นเอง










แหล่งที่มา
1.https://th.wikipedia.org/wiki/วินโดวส์แทสก์แมนิเจอร์ สืบค้นเมื่อ 19/1/2560
2.http://mxhitech.blogspot.com/2011/06/6-ways-to-open-windows-task-manager.html สืบค้นเมื่อ 19/1/2560
3.http://oknation.nationtv.tv/blog/tontan/2007/09/13/entry-6 สืบค้นเมื่อ 19/1/2560 
4.http://www.enter.co.th/th/?p=902 สืบค้นเมื่อ 19/1/2560