วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ(บทที่ 5)

1.ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software)
       คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งานและทำซ้ำถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งานหรือทำซ้ำได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ. proprietary software อาจไม่ได้เป็น ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เสมอไป, แต่โดยมากแล้ว เจ้าของซอฟต์แวร์มักจะใช้กลไกของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสงวนสิทธิ์ของตนเองไว้, ทำให้ซอฟต์แวร์กลายเป็น proprietary software. ตัวอย่างของ proprietary software ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ หรือ อะโดบี โฟโตชอป

คำว่า "โพรไพรเอทารีซอฟต์แวร์" เป็นคำจำกัดความที่ทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation, FSF) ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายถึงซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี เพื่อ ไว้เรียกเปรียบเทียบกับ ซอฟต์แวร์เสรี หรือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ผู้อื่นใช้งาน แจกจ่าย และ ดัดแปลงแก้ไขได้

2.ซอฟต์แวร์ระบบเปิด
       กรุงเทพธุรกิจ - หน่วยงานของรัฐ คือ ตัวกำหนดมาตรฐานการใช้ซอฟต์แวร์ที่สำคัญ เมื่อรัฐเลือกใช้ซอฟต์แวร์ใด เอกชนย่อมต้องเลือกใช้ระบบที่เหมือนกัน เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาแปลงไฟล์กันไปมา
รอแรงขับจากหน่วยงานรัฐ
กระทั่ง อาจก่อปัญหาให้อ่านไฟล์กันไม่ได้ ซึ่งเฉพาะปี 2548 ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน มีค่าใช้จ่ายซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์และบริการรวมกันเกือบ 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหน่วยงานรัฐกว่า 7,100 ล้านบาท เอกชน เฉพาะกิจการขนาดใหญ่เกือบ 4 หมื่นล้านบาท
ไม่เฉพาะไทยประเทศเดียวที่ต้อง จ่ายค่าซอฟต์แวร์ และบริการจำนวนมหาศาลต่อปี แต่ประเทศอื่นๆ ก็เผชิญสภาวะเดียวกัน ดังนั้น ซอฟต์แวร์มาตรฐานเปิดจึงเป็นทางเลือกที่หลายประเทศให้ความสนใจ โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้กำหนดนโยบายเป็นทางการใช้เทคโนโลยีระบบเปิดและไฟล์เอกสารแบบเปิด เช่น มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ที่กำหนดให้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นออฟฟิศ ต้องรับกับมาตรฐานระบบเปิด
ภายในมกราคม ปี 2550 กรมสรรพากรฝรั่งเศส ที่โอนย้ายระบบโปรแกรมออฟฟิศในพีซี 80,000 เครื่องไปใช้แอพพลิเคชั่น ออฟฟิศ ที่เป็นมาตรฐานเปิด และปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์ ได้เปลี่ยนระบบการใช้ซอฟต์แวร์แบบปิดจากเดสก์ทอป 20,000 เครื่องมาใช้ซอฟต์แวร์แบบเปิด ซึ่งคาดว่า กว่า 13 ประเทศกำลังพิจารณาการใช้โอเพ่น ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต (ODF)
"การเข้าสู่ระบบเปิด จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือแลกเปลี่ยนการพัฒนาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ท้ายที่สุดก็ช่วยสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ หากรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดไม่ปรับตัวให้เป็นไปตามกระแสโลก ไม่ใช้เทคโนโลยีระบบเปิดแล้ว เชื่อว่า 5-10 ปีข้างหน้า จะถูกบายพาสจากประเทศอื่นๆ ได้" นายสตีเฟ่น เบรม รองประธาน กอฟเวิร์นเม้นท์ โปรแกรม เอเชีย แปซิฟิก ไอบีเอ็ม กล่าว
เร่งไทยใช้มาตรฐานเปิด
นายเบรม กล่าวว่า ไทยต้องเร่งเข้าสู่การปรับใช้มาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งรองรับการทำงานต่างระบบ (Interoperability) และการใช้มาตรฐานเอกสารโอดีเอฟ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน โดยไม่อิง หรือผูกติดกับเทคโนโลยีของบริษัทรายหนึ่งรายใด (Independent) ทั้งยังทำให้รัฐสามารถควบคุมและเรียกใช้เอกสารโดยไม่อิงกับเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาได้ (Forward and Backward Competability)
สำหรับมาตรฐานโอดีเอฟ เป็นความพยายามผลักดันระดับโลกที่จะแก้ไขปัญหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาครัฐและประชาชนที่ต้องใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีปัญหาการเข้าถึง ค้นคืน และใช้ข้อมูลเหล่านั้น กรณีที่มีการใช้งานไฟล์เอกสารต่างโปรแกรมซอฟต์แวร์ จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพันธมิตร "โอเพ่น ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต อะลายแอนซ์ " จาก35 องค์กรทั่วโลก ที่มีสมาชิกประกอบด้วย สมาคม เวนเดอร์ สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐด้านไอซีทีของหลายประเทศ
หน่วยงานรัฐแรงดันระบบเปิด
หน่วยงานรัฐ จะเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงผลักดันให้ใช้มาตรฐานเปิด และไฟล์เอกสารเปิดโอดีเอฟได้ โดยกำหนดในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐว่าต้องเป็นมาตรฐานเปิดและทำงานต่าง ระบบร่วมกันได้ และบังคับใช้โอดีเอฟ ซึ่งการผลัดกันนั้น จะเป็นกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดที่มีอิทธิพลผลักดันหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้
ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องการจัดซื้อ กระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วย (เฮลธ์ เรคคอร์ด)
นอกจากนั้น กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค ก็สามารถร่วมมือกันพัฒนาการใช้งานโอดีเอฟได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ โดยเฉพาะหากเกิดปัญหาการระบาดไข้หวัดนก ก็อาจแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศกันได้มากและง่ายขึ้น
ด้านข้อมูลจากซีเน็ต นิวส์ ระบุว่า การผลักดันโอดีเอฟ เป็นการสร้างมาตรฐานเอกสารออฟฟิศทั้งการประมวลผลคำ (WordProcessing) การนำเสนอ (Presentation) และเอกสารคำนวณ (Spredsheet) โดยปัจจุบันกว่า 90% ของโปรแกรมเอกสารสำนักงานจะใช้ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์
ขณะที่ไมโครซอฟท์ พยายามส่งเสริมการใช้มาตรฐานเอกสาร ที่เป็นโอเพ่น เอ็กซ์เอ็มแอล ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต โดยในโปรแกรมออฟฟิศ 2007 ที่ไมโครซอฟท์จะวางตลาดครึ่งปีหลังของปี 2550 จะใช้ไฟล์มาตรฐานโอเพ่นเอ็กซ์เอ็มแอล
3.การปิดระบบใน Windows 7
       3.1 Shutdown เป็นการปิดเครื่อง
       3.2 Switch user เป็นการล็อคออนเข้าบัญชีผู้อื่น โดยงานของบัญชีผู้ใช้คนเดิมยังคงอยู่
       3.3 Log off เป็นการปิดการทำงานของบัญชีผู้ใช้อยู๋ปัจจุบัน เพื่อล็อกออนเข้าบัญชีผู้ใช้รายอื่น
       3.4 Lock เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว
       3.5 Restart เป็นการปิดระบบ แล้วบูตเครื่องใหม่
       3.6 Sleep เป็นการหยุดพักระบบหรือระบบหลับชั่วคราว สามารถกลับมาใช้งานเมื่อมีการขยับเมาส์หรือกดปุ่มคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ด
       3.7 Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว ด้วยการจัดเก็บงานที่ค้างคาอยู่ ณ ขณะนั้นไว้ในฮาร์ดดิสก์ และเครื่องก็จะถูกปิดไป ครั้นเมื่อมีการเปิดเครื่อง ระบบก็จะโหลดโปรแกรมที่ค้างคาขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้งานต่อ







แหล่งที่มา
1.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C สืบค้นเมื่อ 14/12/2559
2.http://www2.osdev.co.th/node/355 สืบค้นเมื่อ 14/12/2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น